BEIJING FOREIGN

STUDIES UNIVERSITY

สถาบันวิจัยวัฒนธรรมจีนนานาชาติ

发布时间:2019-04-25

สถาบันวิจัยวัฒนธรรมจีนนานาชาติเดิมคือศูนย์วิจัยภาษาจีนในต่างประเทศตั้งขึ้นในปี 1996 และในปี 2015 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันวิจัยวัฒนธรรมจีนนานาชาติ สถาบันวิจัยจีนศึกษาทั่วโลกล้วนศึกษาวัฒนธรรมจีนเป็นพื้นฐาน ในบริบทการถ่ายทอดวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีนที่โดดเด่นและประวัติศาสตร์การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างจีนกับต่างประเทศ ศึกษาเส้นทางและร่องรอยการเผยแผ่วัฒนธรรมจีนให้แก่ทุกชนชาติในโลก เรียบเรียงประวัติศาสตร์การแปลตำราวัฒนธรรมจีนโบราณ ผู้แปลและฉบับแปล สรุปทฤษฎีและวิธีการแปลจากจีนเป็นภาษาต่างประเทศ ใช้หลักการศึกษาประวัติศาสตร์มาศึกษาการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาของจีนศึกษาในประเทศต่างๆ  ใช้มุมมองข้ามวัฒนธรรมมาศึกษาผลกระทบของวัฒนธรรมจีนในต่างประเทศ ศึกษากลไกการก่อตัวของวัฒนธรรมจีนในโลก เผยให้เห็นความสำคัญของวัฒนธรรมจีนในระดับโลก

ภายใต้สถาบันวิจัยวัฒนธรรมจีนนานาชาติ ได้จัดตั้งศูนย์วิจัยจีนศึกษาในต่างประเทศ สถาบันวิจัยวัฒนธรรมจีน ศูนย์ประเมินผลการเผยแพร่วัฒนธรรมชาวจีนโพ้นทะเล มีวารสารวิชาการประจำสถาบันหลายฉบับ ได้แก่ “วิชาว่าด้วยอารยธรรมจีนนานาชาติ” “วรรณคดีและการข้ามวัฒนธรรมศึกษา” “การวิจัยขงจื่อและการสื่อสารระหว่างประเทศ” “วารสารจีนศึกษา” และอื่น ๆ สถาบันนักวิชาการภายใต้สถาบันวิจัยวัฒนธรรมจีนนานาชาติ มีสมาคมประวัติจีนศึกษานานาชาติและคณะกรรมการประสานงานขงจื่อของสหภาพระหว่างประเทศ

สถาบันมุ่งเน้นความสามารถในการวิจัยและการพัฒนาของนักศึกษา ในการอบรมวรรณคดีเปรียบเทียบและวิชาเอกการวิจัยวัฒนธรรมระหว่างประเทศในระดับปริญญาโท  ในขณะเดียวกันระดับนักศึกษาปริญญาเอก ได้เปิดวิชาเอกศูนย์การศึกษาวัฒนธรรมจีน วิชาเอกจีนศึกษาระหว่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อมุ่งรับนักศึกษาต่างชาติ ใช้ภาษาจีนในการเรียนการสอน และฝึกอบรมระดับปริญญาโท

กว่าสิบปีที่ผ่านมา นักวิจัยของสถาบันจัดทำโครงการระดับประเทศ  โครงการระดับมณฑลกว่า 40 โครงการ โครงการงานวิชาการที่ตีพิมพ์ 36 เรื่อง งานวิชาการ 40 เรื่อง งานแปล 29 เรื่อง พจนานุกรม 2 เรื่อง และตำราเรียน 3 เรื่อง เอกสารทางวิชาการที่มีชื่อเสียงตีพิมพ์กว่า 100 บทความ สถาบันการวิจัยของมหาวิทยาลัยชนะรางวัลที่หนึ่งสามปีติดต่อกัน สถาบันวิจัยยังร่วมมือกับประเทศอื่นๆ อย่างใกล้ชิดกับทั้ง 33 มหาวิทยาลัย และสถาบันการวิจัยจากสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส อิตาลี วาติกัน สวีเดน รัสเซีย อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีสิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย ฮ่องกง ไต้หวัน มาเก๊าและประเทศอื่น ๆในภูมิภาค ศูนย์ฯมีการแลกเปลี่ยนนักวิชาการจากทั่วโลกเป็นจำนวนกว่าร้อยคน จัดงานสัมมนาทางวิชาการหลายครั้ง จัดการประชุมงานวิขาการนานาชาติกว่า 70 ครั้ง และมีการสื่อสารทางวิชาการของสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดในประเทศ

เลขที่ 2 ซีซานหวนเป่ยลู่ เขตไห่เตี้ยน กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีนรหัสไปรษณีย์ 100089

ฝ่ายการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างประเทศ

ฝ่ายงานสถาบันขงจื่อ

สำนักงานนักศึกษาชาวต่างชาติ

สำนักงานมหาวิทยาลัย

Copyright@BFSU.Support by ITC