หน้าหลัก > เกี่ยวกับมหาวิทยาลัย > คำแนะนำโดยสังเขป
>คำแนะนำโดยสังเขป
>คำขวัญและตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
>คณะผู้บริหาร
>ข้อมูลสำคัญ
>วิทยาเขต
>ติดต่อเรา

คำแนะนำโดยสังเขป

มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่งหรือที่เรียกย่อว่า BFSUตั้งอยู่ที่ถนนซีซันหวนเป่ยลู่ เขตไห่เตี้ยนของกรุงปักกิ่ง จัดตั้ง 2 วิทยาเขตอยู่สองฟากถนนซีซันหวน เป็นมหาวิทยาลัยที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการของจีนโดยตรง และได้รับการจัดอยู่ใน “โครงการ 211 และ “โครงการ 985 ซึ่งเป็นโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยชั้นนำระดับประเทศและโลก และได้รับการเลือกอยู่ในรายชื่อรุ่นแรกของ“โครงการ Double First-Class ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้เป็นทั้ง “มหาวิทยาลัยชั้นนำ (First Class University) และมี “หลักสูตรชั้นนำ (First Class Academic)

BFSU เป็นสถาบันอุดมศึกษาสอนภาษาต่างประเทศแห่งแรกที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนสถาปนาขึ้น แต่เดิมเป็นคณะภาษารัสเซียวิทยาเขตที่สามของมหาวิทยาลัยการเมืองและการทหารเพื่อต่อต้านญี่ปุ่นแห่งประเทศจีน ซึ่งสถาปนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1941 ณ เมืองเอี๋ยนอาน ต่อมาพัฒนาเป็นสถาบันการศึกษาภาษาต่างประเทศแห่งคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง ซึ่งสังกัดคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน หลังจากการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน มหาวิทยาลัยจึงสังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ในปี ค.ศ.1954 เปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่ง ในปี ค.ศ.1959 รวมเข้าด้วยกับวิทยาลัยภาษารัสเซียปักกิ่งจึงได้สถาปนาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่งแห่งใหม่ นับตั้งแต่ปี ค.ศ.1980 วิทยาลัยสังกัดกระทรวงศึกษาธิการโดยตรง และในปี ค.ศ.1994 เปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่งอย่างเป็นทางการ

BFSU ได้รับอนุมัติให้เปิดสอนวิชาภาษาต่างประเทศทั้งหมด 101 ภาษา นับเป็นฐานการศึกษาภาษาต่างประเทศใหญ่ที่สุดของจีน และได้ครอบคลุมกลุ่มภาษายุโรปและกลุ่มภาษาเอเชีย-แอฟริกามากที่สุด ยังเป็นเขตการสร้างสาขาวิชาพิเศษรุ่นแรกของกระทรวงศึกษาธิการ BFSU ได้พัฒนาเป็นโครงสร้างที่ถือวิชาวรรณกรรมและภาษาต่างประเทศเป็นหลัก และมีวิชาศิลปศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การบริหาร ฯลฯ พัฒนาร่วมกัน ภาษาที่ BFSU เปิดสอนเรียงตามลำดับเวลา มีดังนี้ ภาษารัสเซีย ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาสเปน ภาษาโปแลนด์ ภาษาเช็ก ภาษาโรมาเนีย ภาษาญี่ปุ่น ภาษาอาหรับ ภาษากำพูชา ภาษาลาว ภาษาสิงหล ภาษามาเลเซีย ภาษาสวีเดน ภาษาโปรตุเกส ภาษาฮังการี ภาษาแอลเบเนีย ภาษาบัลแกเรีย ภาษาสวาฮีลี ภาษาพม่า ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาอิตาลี ภาษาโครเอเชีย ภาษาเซอร์เบีย ภาษาฮัวซา ภาษาเวียดนาม ภาษาไทย ภาษาตุรกี ภาษาเกาหลี ภาษาสโลวัก ภาษาฟินแลนด์ ภาษายูเครน ภาษาฮอลแลนด์ ภาษาโนเว ภาษาไอซ์แลนด์ ภาษาเดนมาร์ก ภาษากรีซ ภาษาฟิลิปปินส์ ภาษาอินเดีย ภาษาอูรดู ภาษาฮีบรู ภาษาเปอร์เซีย ภาษาสโลวีเนีย ภาษาเอสโตเนีย ภาษาลัตเวีย ภาษาลิทัวเนีย ภาษาไอร์แลนด์ ภาษามอลตา ภาษาบังกลาเทศ ภาษาคาซัค ภาษาอุซเบก ภาษาละติน ภาษาซูลู ภาษาคีร์กีซ ภาษาปาทาน ภาษาสันสกฤต ภาษาบาลี ภาษาอัมฮาริก ภาษาเนปาล ภาษาโซมาลี ภาษาทมิฬ ภาษาเติร์กเมน ภาษากาตาลา ภาษาโยรูบา ภาษามองโกเลีย ภาษาอาร์มีเนีย ภาษามาลากาซี ภาษาจอร์เจีย ภาษาอาเซอร์ใบจาน ภาษาอาฟรีกานส์ ภาษามาซิโดเนีย ภาษาทาจิก ภาษาบอตสวานา ภาษาเอ็นเดเบเล ภาษาคอโมโรส ภาษาครีโอล ภาษาโชนา ภาษาตึกรึญญา ภาษาเบลารุส ภาษาเมารี ภาษาตองงา ภาษาซามัว ภาษาเคิร์ด ภาษาบิสลามา ภาษาดารี ภาษาเตตุม ภาษามัลดีฟส์ ภาษาฟีจี ภาษาเมารีในหมู่เกาะคุ๊ก ภาษาบุรุนดี ภาษาลักเซมเบิร์ก ภาษารวันดา ภาษานีอูเอ ภาษาทอกพิซิน ภาษาเนียนจา ภาษาเลโซโท ภาษาซันโก ภาษาทามาไซต์ ภาษาชวาและภาษาปัญจาบ BFSU สืบทอดจิตวิญญาณเอี๋ยนอาน และยืนหยัดยุทธศาสตร์ที่รับใช้ประเทศชาติ ปัจจุบันนี้ BFSU ได้ครอบคลุมภาษาทางการทั้งหมด 183 ภาษาของประเทศที่ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน

ปัจจุบันนี้ BFSU ส่งเสริมการปฏิรูปรูปแบบการฝึกอบรมบุคลากรอย่างแข็งขัน และได้ก่อตั้งสำนักงานสื่อการสอนที่สังกัดมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศจีน ก่อคั้งสถาบันเป่ยว่าย สถาบันองค์กรระหว่างประเทศ และสถาบันการศึกษานานาชาติ ก่อตั้งสถาบันเอเชียศึกษาและสถาบันแอฟริกาศึกษาใหม่บนพื้นฐานสถาบันเอเชีย-แอฟริกาศึกษา ก่อตั้งห้องปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์และภาษามนุษย์ นอกจากนี้ ยังก่อตั้งสถาบันวิจัยพิเศษเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการสื่อสารระหว่างประเทศ อย่างเช่น สถาบันวิจัยความสามรถทางการแปลแห่งชาติ กำหนดภาษาโลก วัฒนธรรมโลก และการปกครองโลกเป็นทิศทางยุทธศาสตร์ พร้อมทั้งริเริ่มจัดตั้งพันธมิตรมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศระดับโลก ชุมชนวิชาการภูมิภาคและประเทศระดับโลก และชุมชนวิชาการภูมิภาคและประเทศของจีน

BFSU มีฐานการวิจัย 54 แห่งในระดับชาติ ระดับจังหวัด และระดับรัฐมนตรี รวมถึงศูนย์วิจัยการศึกษาภาษาต่างประเทศแห่งชาติ ซึ่งเป็นหนึ่งในฐานการวิจัยหลักด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ ห้องปฏิบัติการหลักด้านปัญญาประดิษฐ์และภาษามนุษย์ ซึ่งเป็นหนึ่งในห้องปฏิบัติการด้านปรัชญาและสังคมศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ ศูนย์วิจัยการพัฒนาความสามารถทางภาษาแห่งชาติ ซึ่งสังกัดศูนย์วิจัยคณะกรรมการภาษาแห่งชาติ ฐานวิจัยตำราเรียนภาษาต่างประเทศสำหรับโรงเรียนประถม มัธยม และมหาวิทยาลัย ซึ่งสังกัดฐานวิจัยสำคัญระดับชาติด้านการสร้างสรรค์ตำราเรียน แพลตฟอร์มนวัตกรรมเชิงบูรณาการของสถาบันวิจัยร่วมว่าด้วยองค์กรระหว่างประเทศ ภูมิภาคและประเทศศึกษา และการสื่อสารระหว่างประเทศของกระทรวงศึกษาธิการ ฐานวิจัยประชาคมชาติพันธุ์จีนของคณะกรรมการกิจการชนกลุ่มน้อยแห่งชาติ: สถาบันวิจัยขั้นสูงว่าด้วยการปกครองระดับภูมิภาคและระดับโลก ฐานวิจัยภูมิภาคและประเทศศึกษาที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ 4 แห่ง (ศูนย์วิจัยยุโรปภาคกลางและภาคตะวันออกศึกษา ศูนย์วิจัยอังกฤษศึกษา ศูนย์วิจัยญี่ปุ่นศึกษา และศูนย์วิจัยแคนาดาศึกษา) ยังมีศูนย์วิจัยภูมิภาคและประเทศศึกษาที่ได้ลงทะเบียนกับกระทรวงศึกษาธิการ 37 แห่ง และศูนย์วิจัยการแลกเปลี่ยนทางมานุษยวัฒนธรรมระหว่างประเทศแห่งกระทรวงศึกษาธิการ 3 แห่ง (ศูนย์วิจัยการแลกเปลี่ยนทางมานุษยวัฒนธรรมระหว่างจีน-อินโดนีเซีย ศูนย์วิจัยการแลกเปลี่ยนทางมานุษยวัฒนธรรมระหว่างจีน-ฝรั่งเศส ศูนย์วิจัยการแลกเปลี่ยนทางมานุษยวัฒนธรรมระหว่างจีน-เยอรมนี) นอกจากเหล่านี้ BFSU ยังมีฐานวิจัยหลักด้านปรัชญาและสังคมศาสตร์แห่งกรุงปักกิ่ง ฐานวิจัยการศึกษาและการปกครองด้วยกฎหมายแห่งกรุงปักกิ่ง ได้รับการเลือกให้เป็นหนึ่งในฐานการส่งเสริมภาษาประจำชาติรุ่นแรก หนึ่งในศูนย์วิจัยแนวคิดของ สี จิ้นผิง เกี่ยวกับสังคมนิยมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะแบบจีนสำหรับศักราชใหม่แห่งกรุงปักกิ่งรุ่นแรก และได้รับการจัดอยู่ใน ศูนย์นวัตกรรมประสานกันแห่งการวิจัยทฤษฎีสังคมนิยมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะแบบจีนในมหาวิทยาลัยปักกิ่ง

BFSU ได้จัดพิมพ์วารสาร CSSCI (ดัชนีการอ้างอิงทางสังคมศาสตร์ของจีน) 5 ชนิด อันได้แก่ การวิจัยและการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ วรรณกรรมต่างประเทศ ฟอรั่มระหว่างประเทศ การวิจัยขั้นแนวหน้าของการศึกษาภาษาต่างประเทศและจีนศึกษานานาชาติ ได้จัดพิมพ์การเรียนการสอนภาษารัสเซียในจีน ซึ่งเป็นวารสาร CSSCI แบบขยาย และได้จัดพิมพ์วารสารวิชาการภาษาจีนอื่น ๆ ทั้งหมด 7 ชนิด นอกจากนี้ยังจัดพิมพ์ภาษาศาสตร์ประยุกต์ของจีน ซึ่งเป็นวารสารภาษาอังกฤษของ ESCI และวารสารวิชาการภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ทั้งหมด 12 ชนิต ซึ่งได้ครอบคลุมภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน อารบิก รัสเซีย เยอรมัน และโปรตุเกส BFSU ยังมีสำนักพิมพ์การสอนและวิจัยภาษาต่างประเทศ(FLTRP) ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีนสำหรับหนังสือภาษาต่างประเทศ วีดีโอ และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์

BFSU เปิดสอนวิชาระดับปริญญาตรีถึง 122 วิชา โดยมี 46 วิชาเปิดสอนที่ BFSU ที่เดียวภายในประเทศ มี 54 วิชาเป็นวิชาปริญญาตรีระดับชั้นนำแห่งชาติ มี 18 วิชาเป็นวิชาปริญญาตรีระดับชั้นนำแห่งมณฑล "แบบจำลองเป่ยไว้เพื่อปลูกฝังความสามารถระดับโลกด้านภาษาต่างประเทศ" ได้รับรางวัลอันดับหนึ่แห่งผลสำเร็จทางการเรียนการสอนแห่งชาติประจำปี 2021

มีสาขาวิชาปริญญาโทด้านวิชาการระดับแรก 12 สาขา ได้แก่ วรรณกรรมและภาษาต่างประเทศ วิทยาศาสตร์การจัดการ วรรณกรรมและภาษาจีน วารสารศาสตร์ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ ทฤษฎีลัทธิมาร์กซ เศรษฐศาสตร์ประยุกต์ วิทยาศาสตร์การจัดการและวิศวกรรมศาสตร์ การจัดการธุรกิจ ศึกษาศาสตร์และประวัติศาสตร์โลก สาขาวิชาปริญญาโทด้านมืออาชีพระดับหนึ่ง 9 สาขา ได้แก่ การแปลและการล่าม การสอนภาษาจีนนานาชาติ ธุรกิจระหว่างประเทศ การเงิน วารสารศาสตร์และนิเทศศาสตร์ นิติศาสตร์ การบัญชี และการจัดการธุรกิจ สาขาวิชาวรรณกรรมและภาษาต่างประเทศได้รับการเลือกอยู่ในรายชื่อวิชาของ“โครงการ Double First-Class ศึกษาศาสตร์ภาษาต่างประเทศได้รับการจัดเป็นสาขาวิชาชั้นนำในมหาวิทยาลัยในกรุงปักกิ่ง ในการประเมินสาขาวิชาทั่วประเทศ สาขาวิชาวรรณกรรมและภาษาต่างประเทศของ BFSU ได้รับการรับรองเป็นสาขาวิชาระดับ A+ ซึ่งอยู่ในอันดับแรกทั่วประเทศ ในการประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกรายสาขาวิชาประจำปี ค.ศ. 2024 โดย QS World University Rankings ซึ่งผลปรากฎว่า สาขาภาษาศาสตร์ของ BFSU ติดอันดับที่ 45 สาขาวรรณกรรมและภาษาอังกฤษติดอันดับที่ 151-200 สาขาภาษาสมัยใหม่ติดอันดับที่ 151-200

BFSU ได้สืบสานปณิธานแรกเริ่ม พัฒนาตามความต้องการเชิงยุทธศาสตร์แห่งชาติ ยืนหยัดปฏิบัติแนวคิดการเรียนการสอนที่เป็น “สากล พิเศษ โดดเด่นและทั่วไป ” ยึดมั่นปรัชญาประจำมหาวิทยาลัยที่เป็น “หลอมรวมสรรพศาสตร์ อเนกอนันต์ ทรงความเป็นพหูสูต มุ่งมั่นพากเพียร” พัฒนาวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยที่เป็น "รักชาติ เชี่ยวชาญและมีคุณธรรมสูง" บ่มเพาะจิตวิญญาณแห่งเป่ยไว่ ปฏิบัติหน้าที่พื้นฐานในการปลูกฝังคนให้มีคุณธรรมและความสามารถ BFSU ได้ฝึกอบรมบุคลากรจำนวนมากที่มีความสามารถทางภาษาต่างประเทศ ซึ่งประกอบอาชีพต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ อาทิเช่น การทูต การแปล การศึกษา เศรษฐกิจและการค้า นิเทศศาสตร์ นิติศาสตร์และการเงิน ได้ประสบผลสำเร็จดีเด่นและกลายเป็นเสาหลักทางสังคม ตามข้อมูลศิษย์เก่าที่รวบรวมมาได้ มีศิษย์เก่าของ BFSU มากกว่า 500 คนเคยดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต และมีศิษย์เก่ามากกว่า 3000 คนดำรงตำแหน่งอัครราชทูตที่ปรึกษา BFSU จึงได้รับฉายาว่าเป็น "แหล่งกำเนิดของนักการทูตแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน" ปัจจุบันนี้ BFSU มีนักศึกษาปริญญาตรีจำนวน 5700 กว่าคน นักศึกษาปริญญาโทและปริญญาเอกจำนวน 4300 กว่าคน และมีนักศึกษาต่างประเทศ 1200 กว่าคน ในปี 2024 BFSU ได้รับการรับรองคุณภาพระดับ A ในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับนักศึกษาต่างชาติที่มาศึกษาในจีนอีกครั้ง

BFSU ได้ลงนามในหนังสือสัญญการแลกเปลี่ยนความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและองค์กรวิชาการต่าง ๆ ทั้งหมด 299 แห่งของ 84 ภูมิภาคและประเทส และได้สร้างความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมกับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของประเทศต่าง ๆ เช่น มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์สหราชอาณาจักร มหาวิทยาลัยชิคาโกสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีหนานหยางสิงคโปร์ มหาวิทยาลัยโตเกียวญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียออสเตรเลีย มหาวิทยาลัยปารีสซอร์บอนฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยจีนแห่งฮ่องกง มหาวิทยาลัยมลายา มหาวิทยาลัยแห่งชาติมอสโก มหาวิทยาลัยเซาเปาโล มหาวิทยาลัยไฮเดลแบร์ก มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาตินเม็กซิโก มหาวิทยาลัยอิสระบาร์เซโลนา BFSU ได้จัดตั้งสถาบันขงจื่อและห้องเรียนขงจื่อในต่างประเทศ 23 แห่งใน 18 ประเทศในทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป และทวีปอเมริกาเป็นมหาวิทยาลัยของจีนที่ได้จัดตั้งสถาบันขงจื่อจำนวนมากที่สุดในต่างประเทศ

BFSU มีศูนย์ทรัพยากรเอกสารที่มีเอกลักษณ์ระดับโลกในหลายภาษา โดยห้องสมุดมีเอกสารฉบับพิมพ์กว่า 1.6 ล้านเล่มใน 107 ภาษา หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประมาณ 1.41 ล้านเล่ม วารสารฉบับพิมพ์ 873 รายการ และฐานข้อมูล 103 ฐาน จนได้กลายเป็นลักษณะของหอสมุดที่จัดเก็บข้อมูลเอกสารทางด้านภาษา วรรณกรรมและวัฒนธรรมเป็นหลัก หลายปีมานี้ ด้วยการพัฒนาของสาขาวิชาต่าง ๆ การจัดเก็บข้อมูลเอกสารด้านการเมือง นิติศาสตร์ การทูต เศรษฐกิจ ข่าวสารและการบริหารก็ได้กลายเป็นระบบการเก็บที่สมบูรณ์ ในขณะเดียวกัน BFSU ได้ส่งเสริมการสร้างการศึกษาแบบดิจิทัล พัฒนาแพลตฟอร์มต่าง ๆ อย่าวเช่น เว็บไซต์ภาษาหลากหลาย มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่งดิจิทัล ศูนย์ข้อมูล การสอนออนไลน์ และทรัพยากรการเรียนการสอน สร้างห้องเรียนอัจฉริยะและสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนอัจฉริยะ จนได้ประสบความสำเร็จใหญ่หลวงหลายอย่าง และได้ยึดยั่นแนวคิดที่เปิดกว้าง เชื่อมโยงกัน อัจฉริยะ นวัตกรรมและบูรณาการ สร้างขึ้นเป็นเขตสาธิของโครงการแห่งกระทรวงศึกษาธิเพื่อประยุกต์ใช้ AI ส่งเสริมการพัฒนาคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยจีน นอกจากนี้ยังได้สร้างพิพิธภัณฑ์ภาษาโลก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ใหม่แห่งภาษาและวัฒนธรรม และสร้างหอนิทรรศการแห่งประวัติศาสตร์ของ BFSU ซึ่งแสดงให้เห็นถึงกระบวนการพัฒนาของ BFSU อย่างรอบด้าน

ปัจจุบันนี้ BFSU ดำเนินงานโดยยึดแนวคิดของ สี จิ้นผิง เกี่ยวกับสังคมนิยมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะแบบจีนสำหรับศักราชใหม่ ดำเนินการตามจิตวิญญาณแห่งการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 20 และจิตวิญญาณแห่งการประชุมการศึกษาแห่งชาติปฏิบัติตามคำกล่าวสำคัญของนายสีจิ้นผิงที่เกี่ยวกับการศึกษา จิตวิญญาณแห่งจดหมายตอบกลับจากนายสีจิ้นผิงถึงศาสตราจารย์ผู้สูงอายุของ BFSU ดำเนินการตามจิตวิญญาณแห่งการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์ครั้งที่ 10 ของ BFSU และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตระยะ 5 ปีฉบับที่ 14 ยันหยัดและเสริมสร้างการชี้นำอย่างรอบด้านของพรรคคอมมิวนิสต์จีน BFSU ยังคงติดตามยุทธศาสตร์การพัฒนาผ่านการฝึกอบรมผู้มีความสามารถ การศึกษาเชิงวิชาการ และการแลกเปลี่ยนระดับโลก มุ่งมั่นที่จะก่อสร้างอนาคตในฐานะมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศชั้นนำระดับโลกที่มีลักษณะเฉพาะ แนวสากล ระดับสูงและบูรณาการ ยึดถือ “เชื่อมต่อกับโลกโดยภาษา และอนุเคราะห์โลกผ่านคุณธรรม" เป็นภารกิจ ปลูกฝังอบรมผู้มีความสามารถแบบสหวิทยาการที่มีมีความรักต่อชาติ มุมมองระดับโลก และความเป็นมืออาชีพ เพื่อส่งเสริมการปรากฏตัวระดับโลกของจีนและให้โลกสามารถเข้าใจประเทศจีนได้ดียิ่งขึ้น